รูมาตอยด์ โรคข้ออักเสบที่ไม่ควรมองข้าม

รูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis หรือ RA) คือโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะทำลายเนื้อเยื่อของตัวเองโดยไม่ได้ตั้งใจ ส่งผลให้เกิดการอักเสบในบริเวณ ข้อเล็กเช่น ข้อมือ นิ้วมือ และนิ้วเท้า และอาจเกิดการบวม แดง ร้อน เกิดอาการเจ็บปวด และมักมีความฝืดของข้อในช่วงเช้า เป็นเวลานานกว่า 30 นาทีและเนื้อเยื่อรอบข้อ อาจส่งผลต่ออวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย หากผู้ป่วยปล่อยไว้นานโดยไม่รักษา อาจทำให้บริเวณข้อเสียหายหรือผิดรูป และส่งผลต่ออวัยวะอื่น เช่น ปอด หัวใจ หรือหลอดเลือดได้และสาเหตุของการเกิดโรครูมาตอยด์  ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องอาจรวมถึง  พันธุกรรม  สิ่งแวดล้อม  ฮอร์โมน  

.

ผู้ป่วยที่มีโรครูมาตอยด์มีอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดข้อเรื้อรัง บริเวณ ข้อ เช่น ข้อนิ้ว ข้อมือ ข้อเข่า
  • ข้อบวมและอักเสบ บวม แดง ร้อน และกดเจ็บ
  • อาการข้อติดในตอนเช้า ตื่นเช้ามาแล้วรู้สึกว่าข้อแข็ง ขยับลำบาก อาการอาจใช้เวลาหลายนาทีหรือหลายชั่วโมงกว่าจะดีขึ้น
  • อาการเกิดในหลายข้อพร้อมกัน มักเกิดในข้อเล็ก ๆ เช่น ข้อนิ้ว ข้อมือโดยมีลักษณะอาการสมมาตร (ทั้งสองข้างของร่างกาย)

.

 ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ห้ามกินอะไรบ้าง!

  • อาหารที่มีไขมันทรานส์สูง เช่น ขนมกรุบกรอบ เบเกอรีที่มีเนยขาว หรืออาหารแปรรูป
  • ไขมันทรานส์ สามารถกระตุ้นการอักเสบและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
  • น้ำตาลและอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม ขนมหวาน ลูกอม หรืออาหารที่มีการเติมน้ำตาลมาก เพราะน้ำตาลสามารถกระตุ้นการอักเสบและเพิ่มระดับสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบในร่างกาย
  • เนื้อแดงและเนื้อแปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน หรือแฮม เนื้อแดงมีกรดอะแรคิโดนิก (Arachidonic acid) ซึ่งอาจกระตุ้นการอักเสบ
  • อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนย มาการีน ชีส หรือผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันเต็มส่วน
  • ไขมันอิ่มตัว อาจกระตุ้นการอักเสบและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังอื่น ๆ
  • อาหารที่มีเกลือสูง อาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง เกลืออาจกระตุ้นการอักเสบและส่งผลเสียต่อสุขภาพกระดูกและข้อ
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจกระตุ้นการอักเสบและลดประสิทธิภาพของการรักษาด้วยยา
  • กลูเตน (สำหรับผู้ป่วยบางราย) ผู้ป่วยบางคนอาจไวต่อกลูเตน (พบในแป้งสาลี ข้าวบาร์เลย์ และข้าวไรย์) ซึ่งอาจกระตุ้นอาการอักเสบในบางกรณี
  • อาหารทอดหรือปิ้งย่าง ที่มีการไหม้เกรียม สารที่เกิดจากการไหม้หรือทอดน้ำมันท่วม เช่น อะคริลาไมด์ (Acrylamide) อาจเพิ่มการอักเสบในร่างกาย

.

อาหารที่ควรรับประทานแทน

  • ผักและผลไม้ เช่น บลูเบอร์รี่ ส้ม ผักใบเขียว
  • ปลาที่มีไขมันสูง เช่น แซลมอน แมคเคอเรล (โอเมก้า-3 ลดการอักเสบ)
  • ถั่วและเมล็ดพืช เช่น อัลมอนด์ วอลนัท
  • ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวโอ๊ต ควินัว
  • เครื่องเทศ เช่น ขมิ้นและขิง (มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ)

.

การรักษา

  • ยา เช่น ยาต้านการอักเสบ (NSAIDs), ยากลุ่มสเตียรอยด์ และยากดภูมิคุ้มกัน
  • กายภาพบำบัด ช่วยลดอาการปวดและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • การผ่าตัด (ในกรณีรุนแรง) เช่น การเปลี่ยนข้อ

.

แม้โรครูมาตอยด์จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และแม้ว่าโรคจะสงบแล้วก็อาจกลับมาเป็นได้อีก  แต่การรักษาในปัจจุบันสามารถช่วยควบคุมโรค ลดอาการ และป้องกันความเสียหายของข้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ การดูแลตัวเองและการรักษาอย่างสม่ำเสมอมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดผลกระทบจากโรคในระยะยาว

*****************************

บทความโดย

นายแพทย์ เกรียงศักดิ์ เล็กเครือสุวรรณ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน คลินิกระงับปวด และผ่าตัด ข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อไหล่
ศูนย์ระงับปวด คอ บ่า ไหล่ หลัง ชั้น 2 โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล 

โทร 02-836-9999 ต่อ *2621

 

 

Visitors: 224,449