
หมายถึง นิ่วที่เกิดในไต กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดการติดเชื้อ มีผลต่อการทำงานของไตทำให้ไตเสียหน้าที่เกิดภาวะไตวายได้ นิ่วที่ได้รับการรักษาแล้วอาจเกิดใหม่ได้อีก ความเชื่อที่ว่าการกินน้ำที่มีหินปูนหรือน้ำกระด้างทำให้เกิดนิ่วนั้นไม่เป็นความจริง
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
- ความผิดปกติในการเผาผลาญในร่างกาย
- การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
- การมีปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะนาน
- การเสียสมดุลของน้ำและสารที่ละลายอยู่ในปัสสาวะ ทำให้เกิดการตกผลึกของสารสะสมมากขึ้น รวมตัวกันเป็นก้อนนิ่ว เช่น คนที่อยู่ในเขตร้อนหรือทำงานกลางแจ้ง
- ร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอจากดื่มน้ำน้อย
- การรับประทานอาหารที่มีสารออกซาเลท ซึ่งเป็นสารก่อนิ่ว พบมากในกระหล่ำปลี มันฝรั่ง ผักขม ผักกระโดน มะเขือเทศ องุ่น ส้ม กล้วย หรือทานอาหารที่มีกรดยูริดมากเกินไป เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ กะปิ ยอดผัก หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น
ชนิดของนิ่ว
- นิ่วในไตพบมากที่สุด
- นิ่วในท่อไต
- นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
อาการของนิ่วตำแหน่งต่างๆ

การรักษานิ่วทางเดินปัสสาวะ
- การรักษาตามอาการ
- การใช้กล้องส่องท่อไตและขบนิ่ว
- การเจาะเข้ากรวยไตและขบนิ่ว (PCNL) แผลมีขนาดเล็ก เจ็บแผลน้อยกว่าและกลับบ้านได้ประมาณ 7 วัน
- การผ่าตัดส่องกล้องและเอานิ่วออก
- การผ่าตัดแบบเปิดถ้านิ่วมีขนาดใหญ่

วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้และดุลพินิจของแพทย์
การปฏิบัติตน
- ผู้ได้รับการผ่าตัดควรงดทำงานหนัก งดยกของหนัก อย่างน้อย 2-3 เดือน
- หลีกเลี่ยงภาวะท้องผูก
- หลังการผ่าตัดควรหลีกเลี่ยงเดินทางด้วยจักรยานและมอเตอร์ไซค์
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีออกซาเลทสูง เช่น หน่อไม้ เครื่องในสัตว์ ผักขม ใบชะพูล ผักกระโดน ยอดผักต่างๆ
- ดื่มน้ำมากๆ วันละ 2-3 ลิตร
- อย่ากลั้นปัสสาวะเพื่อลดการคั่งค้างของน้ำปัสสาวะที่จะทำให้เกิดการตกตะกอน
- มาตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง
(นิ่วถึงแม้ผ่าตัดแล้วก็ยังเป็นซ้ำได้อีกดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดนิ่วเป็นวิธีที่ดีที่สุด)
อาการที่ต้องการพบแพทย์
- ปวดเอวมาก มีไข้สูง ปัสสาวะขุ่นและเป็นเลือด
(ที่มา : กลุ่มงานสุขศึกษา ร่วมกับ หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย โรงพยาบาลปทุมธานี)