ความดันโลหิต หมายถึง แรงดันของเลือดที่กระทบต่อผนังหลอดเลือด
ซึ่งเกิดจากการที่หัวใจบีบตัว เพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยวัดได้
2 ค่า คือ
- ความดันโลหิตค่าบน คือ แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว
- ความดันโลหิตค่าล่าง คือ แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว
ใช้หน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรปรอท ในคนที่มีสุขภาพดี ความดันโลหิตปกติ ควรต่ำกว่า
130/85 มิลิเมตรปรอท เมื่อมีอายุมากขึ้นความดันโลหิตจะสูงขึ้นเล็กน้อย
บุคคลที่มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง
บุคคลที่มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง
ได้แก่ บุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
- อ้วนหรือมีไขมันในเลือดสูง
- มีพ่อ แม่ ญาติ พี่น้องเป็นโรคความดันโลหิตสูง
- สูบบุหรี่จัด หรือดื่มเหล้าเป็นประจำ
- เป็นโรคไตหรือเบาหวาน
- มีความเครียดเป็นประจำ
- กินอาหารเค็มจัดเป็นประจำ
สาเหตุของความดันโลหิตสูง
มี 2 ชนิดคือ
- ชนิดมีสาเหตุจากโรคอื่นๆ เช่น โรคเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต ภาวะไตวาย
โรคเนื้องอกของสมอง ภาวะครรภ์เป็นพิษ ได้รับยาหรือสารบางชนิด เป็นต้น
ซึ่งพบประมาณร้อยละ 5 - 10 ของผู้ป่วย
- ชนิดไม่ทราบสาเหตุ พบประมาณร้อยละ 90 - 95 ของผู้ป่วย
ส่วนใหญ่ตรวจพบโดยบังเอิญ
อาการของผู้มีความดันโลหิตสูง
ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดงให้รู้
แต่บางรายอาจพบอาการต่างๆ ได้เช่น
- ปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ วิงเวียน ขณะตื่นนอนใหม่ๆ พอสายๆ อาการจะทุเลาลง
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ
- ตามัว มือ เท้าชา อาจมีเลือดกำเดาไหล
การรักษาโรคความดันโลหิตสูง
- ชนิดมีสาเหตุ รักษาโรคที่เป็นสาเหตุและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย
- ชนิดไม่ทราบสาเหตุ
- ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์
-
กินยาและตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
อันตรายจากโรคความดันโลหิตสูง
ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
แล้วไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดอันตรายจากภาวะแทรกซ้อน ดังนี้
- อัมพฤกษ์ อัมพาต
เนื่องจากเส้นเลือดในสมองตีบ อุดตันหรือแตก
- ตามัวหรือตาบอด เนื่องจากหลอดเลือดในลูกตาตีบ ตัน หรือ แตก
- ไตวายหรือไตพิการ เนื่องจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบ
- หัวใจวาย
- ถ้ารุนแรงอาจชัก หมดสติและเสียชีวิตได้
คำแนะนำสำหรับผู้มีความดันโลหิตสูง
- ถ้าอ้วน ควรควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดย
- - กินอาหารให้ครบ 5
หมู่ และหลากหลาย เพิ่มอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ ที่มีรสหวานน้อย
- -
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน เช่น หนังเป็ด หนังไก่ หมูสามชั้น อาหารใส่กะทิ ขนมหวาน
อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น สมองสัตว์ ไข่แดง ไข่นกกระทา เครื่องในสัตว์
ปลาหมึกใหญ่ หอยนางรม เป็นต้น
- ลดอาหารเค็ม อาหารใส่ผงชูรส เครื่องปรุงรสต่างๆ ของหมักดอง
- ควรเปลี่ยนวิธีการปรุงอาหารจากทอดเป็นนึ่ง อบ ย่าง แทน
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์และงดสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายอย่างถูกวิธี เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เพศและวัย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3
วัน ๆ ละ 30 นาที ห้ามออกกำลังกายโดยใช้กำลังและแรงเบ่งสูง เช่น ยกน้ำหนัก วิดพื้น
วิ่งอย่างรวดเร็ว เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงความเครียด ทำจิตใจให้แจ่มใส พักผ่อนให้เพียงพอ
- สตรีที่กินยาคุมกำเนิดควรเปลี่ยนเป็นวิธีอื่นแทน
- ตรวจรักษาและกินยาตามคำสั่งแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
"แบ่งเวลาสักนิด
เพื่อตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง"
ที่มา: กองส่งเสริมสุขภาพ สำนักอนามัน
กรุงเทพมหานคร