1. การซักถามประวัติด้านต่างๆ
- พฤติกรรมทางเพศสัมพันธ์ ความเสี่ยงนี้อาจนำมาซึ่งโรคติดต่อทางเพศ เช่น เอดส์ ( AIDS ) ซิฟิลิส ( Syphillis ) เป็นต้น
- การเจ็บป่วยที่เคยเป็นในอดีต หรือการได้รับวัคซีนป้องกันโรค เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B )
- การใช้ยา สารเสพย์ติด การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา เบียร์ มลพิษ เช่น น้ำมัน สารตะกั่วจากควันรถ พฤติกรรมการรับประทาน ปลาดิบ หอยลวก ผักลวก ผักสด ซึ่งอาจมาจากแหล่งวัตถุดิบที่ไม่สะอาดพอ
|
 |
 |
2. การตรวจร่างกาย
- วัดความดันโลหิต เพื่อหาโรคความดันโลหิตสูงที่เกี่ยวเนื่องกับโรคหัวใจ โรคไตวาย หรือโรค หลอดเลือดสมอง
- ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง คำนวณ BMI ( Body Mass Index ) เพื่อบ่งชี้โรคอ้วน ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
- หาร่องรอยโรคมะเร็งเบื้องต้น เช่นต่อมน้ำหลืองโต หรือ มีก้อนผิดปกติในที่ต่างๆ
- ตรวจร่างกายทั่วไป เพื่อหาโรคที่ป้องกันและแก้ไขได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เช่น ฟังเสียงหัวใจเพื่อหาโรคหัวใจแต่กำเนิดคลำขนาดตับ และม้าม ว่าโตกว่าปกติหรือไม่ซึ่งอาจบ่งชี้โรคเลือดที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ เช่น ธาลัสซีเมีย ( Thalassemia ) เป็นต้น
- สำหรับผู้หญิงควรตรวจภายใน และเต้านมโดยสูตินรีแพทย์
|
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- Pap Smear ในเพศหญิง โดยอย่างยิ่งในวัยเจริญพันธุ์ เพื่อตรวจหาโรคปากมดลูก ควรทำทุกปี ถ้าผลจากการตรวจติดต่อกัน 3 ปี ในเวลาต่อมา
- การตรวจห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับประวัติ และการตรวจร่างกายโดยอายุรแพทย์ว่าจะต้องตรวจอะไรเพิ่ม แต่เท่าที่จำเป็น เช่น พบว่า ซีด ( Anemia ) อาจจะต้องตรวจหาความเข้มข้นของเลือด ( Hb,Hct ) และหาสาเหตุของโลหิตจาง เป็นต้น
|
 |
(ที่มา: หนังสือคู่มือ "ดูแลสุขภาพ" โรงพยาบาลกรุงเทพ http://www.bangkokhospital.com/)