มาดูทางนี้ดีกว่า 10 อาการเตือน ที่ควรรู้สำหรับอัลไซเมอร์ ::
-
ลืม ซึ่งมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ( Lost of memory ) คนทั่วไปมีลืมนัดหมาย ลืมชื่อเพื่อน หรือเบอร์โทรศัพท์ได้ในบางคราว แต่จะจำได้ภายหลัง แต่สำหรับผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ลืมบ่อยกว่าและฟื้นความทรงจำไม่ได้โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านมา
-
ทำกิจวัตรที่เคยทำมาไม่ได้ ( Impaired activities of daily living ) คนทั่วไปอาจลืมอาหารอุ่นไว้ที่เตา แต่จะจำได้เมื่อต้องการรับประทานอาหาร แต่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะจำไม่ ได้และทิ้งอาหารที่อุ่นไว้แม้ว่าทานจนอิ่มแล้ว
-
มีปัญหาในการใช้ภาษา ( Deterioration in language ) ทุกคนต้องเคยพูดผิด แต่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จะลืมคำง่ายๆ และใช้คำไม่เหมาะสมแทนทำให้ผู้อื่นเข้าใจลำบาก
-
ไม่รู้เวลาและสถานที่ ( Impairment of orientation ) เป็นปกติที่เราอาจจะลืมวัน ว่าเป็นวันอะไร แต่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จำถนนหนทางที่ใช้ประจำไม่ได้และไม่รู้จะกลับบ้านได้อย่างไร
-
การตัดสินใจแย่ลง ( Impairment of judgment ) ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ไม่รู้ว่าการติดเชื้อเป็นไข้เป็นปัญหาที่ต้องไปพบแพทย์ ผู้ป่วยอาจใส่เสื้อผ้าหนาๆในวันอากาศร้อน
-
Impairment of thinking and reason ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ไม่รู้แม้กระทั่งตัวเลขคืออะไร และเอาไว้ทำอะไร คนทั่วไปอาจฉลองวันเกิด แต่ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ไม่รู้วันเกิดคืออะไร
-
วางของผิดที่ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะวางของในที่ๆ ไม่ควรวาง เช่น วางเตารีดไว้ในตู้เย็น
-
อารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ( Mood and behavioral change ) มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากเงียบๆเป็นร้องไห้จากอารมณ์ดีเป็นโกรธไม่มีเหตุผล
-
บุคลิกภาพเปลี่ยนไป ( Personality Change ) ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะเปลี่ยนบุคลิกภาพอย่างรวดเร็ว อาจสับสน ขี้ระแวงหรืออยู่เงียบๆ รวมถึงความกลัวโดยไม่มีเหตุผลหรือการแสดงออกที่ไม่สมควร
-
ขาดการคิดริเริ่ม ( Creative Lost ) คนทั่วไปอาจเบื่องานหรือการเข้าสังคมแต่ไม่นานก็จะกลับมาเริ่มใหม่ แต่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์มักจะอยู่เฉย รอให้คนอื่นมาหามาชักชวนให้ทำสิ่งต่างๆ
เราเชื่อว่าทุกช่วงเวลามีความสำคัญเสมอสำหรับทุกคน อย่ารอให้ถึงวันนั้นเลย .... "ประเมินภาวะอัลไซเมอร์ เสียแต่วันนี้ ก่อนความทรงจำที่ดีจะสูญเสียไป"
Alzheimer (อัลไซเมอร์)
คือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีการเสื่อมของการทำงานสมอง มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ การรับรู้มีการเปลี่ยนแปลง ในพฤติกรรมและบุคลิกภาพ แบ่งการดำเนินโรคเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะแรก คือ มีอาการเล็กน้อย
ระยะที่สอง คือ ระยะปานกลาง
ระยะที่สาม คือ ระยะรุนแรง |
 |
สาเหตุของการเกิด Alzheimer ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าผู้ป่วยAlzheimer จะมีระดับเอนไซม์ที่เป็น เป็นสารสื่อประสาท ที่มีความสำคัญในกระบวนการเก็บความจำ
การป้องกัน
เมื่อผู้ป่วยหรือญาติรู้สึกว่าคนในครอบครัวมีความจำผิดปกติหรือมีปัญหาพฤติกรรมผิดปกติควรนำผู้ป่วยมาปรึกษาแพทย์เพื่อดำเนินการตรวจ วินิจฉัย และหาแนวทางชะลออาการของโรค
การดูแล
ผู้ดูแลควรตระหนักถึงปัญหาในทุกด้านของผู้ป่วย ::
-
การดูแลด้านร่างกาย เช่น การดูแลในกิจวัตรประจำวัน ให้ผู้ป่วยได้มีส่วนร่วมในการทำกิจวัตรประจำวัน และควรจัดให้มีลักษณะเหมือนเดิมก่อนที่ผู้ป่วยจะเป็นโรคให้มากที่สุด
-
การดูแลด้านจิตใจ ให้ความสนใจ เอาใจใส่ให้ความรักความอบอุ่นแก่ผู้ป่วย ในลักษณะการพูดคุย ความใกล้ชิด โดยใช้เทคนิคการสื่อสารกับผู้ป่วย เช่นพูดให้กำลังใจ พูดช้าๆ ชัดเจน ควรใช้การสื่อสารทางกาย ร่วมด้วย เช่น การชี้ การสัมผัส
-
การดูแลทางด้านความเชื่อ สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ เช่นสวดมนต์ ทำบุญเพื่อให้กำลังใจกับผู้ป่วยและ ผู้ดูแลด้วย
-
การดูแลความปลอดภัยภายในบ้าน เช่น ความสว่าง การวางสิ่งของ แต่ก็ต้องคำนึงถึงความสะดวกใน การหยิบใช้สิ่งของต่างๆ ด้วย
โดยความปรารถนาดีจาก โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท เลขที่ 80 ซอยโรงพยาบาล 2 ถนนพระราม 4 เขตคลองเตย แขวงคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทร. 0-2381-2000-20